ค้นหาคำศัพท์แบบเร่งด่วน


 

  • ความหมายของคำว่า ' หยก ๒ '

    หยก ๒  หมายถึง ก. ยกขึ้นลงค่อย ๆ ในคําว่า หยกเบ็ด.

advertisement

 

คำที่ใกล้เคียงกัน

  • หยก ๆ

    ว. เพิ่งทํามาเร็ว ๆ นี้, สด ๆ ร้อน ๆ, เช่น บอกอยู่หยก ๆ ไม่น่าลืมเลยมาถึงหยก ๆ โดนใช้งานเสียแล้ว.

  • หย่ง ๑

    ก. ทําให้สูงขึ้น เช่น หย่งตัว, ทำสิ่งที่รวมตัวกันให้โปร่งหรือขยายตัวให้หลวมขึ้น เช่น หย่งฟาง หย่งผม หย่งเส้นบะหมี่, โหย่ง ก็ว่า.

  • หย่ง ๒, หย่ง ๆ

    ว. อาการที่เดินหรือวิ่งไม่เต็มเท้า คือ จดแต่ปลายเท้า เพื่อทําให้ตนสูงขึ้นหรือเพื่อไม่ให้เกิดเสียงดัง เช่น เดินหย่ง ๆ วิ่งหย่ง ๆ, เรียกรอยเท้าที่ไม่เต็มเห็นแต่ปลายเท้าและส้นเท้า ว่า รอยเท้าหย่ง หรือรอยเท้าหย่ง ๆ, อาการที่นั่งเอาปลายเท้าตั้งลงที่พื้น ส้นเท้าทั้ง ๒ รับก้น เรียกว่า นั่งหย่ง หรือนั่งหย่ง ๆ, กระหย่ง กระโหย่ง โหย่ง หรือ โหย่ง ๆ ก็ว่า.

  • หย่ง ๒, หย่ง ๆ

    ว. อาการที่เดินหรือวิ่งไม่เต็มเท้า คือ จดแต่ปลายเท้า เพื่อทําให้ตนสูงขึ้นหรือเพื่อไม่ให้เกิดเสียงดัง เช่น เดินหย่ง ๆ วิ่งหย่ง ๆ, เรียกรอยเท้าที่ไม่เต็มเห็นแต่ปลายเท้าและส้นเท้า ว่า รอยเท้าหย่ง หรือรอยเท้าหย่ง ๆ, อาการที่นั่งเอาปลายเท้าตั้งลงที่พื้น ส้นเท้าทั้ง ๒ รับก้น เรียกว่า นั่งหย่ง หรือนั่งหย่ง ๆ, กระหย่ง กระโหย่ง โหย่ง หรือ โหย่ง ๆ ก็ว่า.

  • หยด

    ก. ไหลหรือทําให้ไหลหลุดออกมาเป็นหยาด ๆ เช่น น้ำหยด. น. หยาดของเหลวที่ไหลหลุดออกมา เช่น หยดน้ำ หยดหมึก, ลักษณนามใช้เรียกสิ่งที่ไหลหลุดออกมาเช่นนั้น เช่น นํ้าหยดหนึ่ง นํ้าหมึก ๒ หยด.

  • หยดย้อย

    ว. ไพเราะจับใจ เช่น สำนวนหยดย้อย, ชดช้อยอ่อนหวาน เช่นงามหยดย้อย.

  • หยวก ๑

    น. ลําต้นกล้วย เช่น หั่นหยวกต้มกับรำให้หมูกิน, บางทีก็เรียกว่า หยวกกล้วยเช่น แพหยวกกล้วย, ส่วนในหรือแกนอ่อนของลำต้นเทียมของกล้วย มีสีขาว กินได้ เช่น ต้มหยวก แกงหยวก, กาบกล้วย ในคำว่าแทงหยวก; (ปาก) ไม่แข็งแน่น เช่น มีดเล่มนี้คมมากตัดกิ่งไม้ได้ง่ายเหมือนฟันหยวก, ใช้เปรียบผิวที่ขาวมากว่า ขาวเหมือนหยวก.

 


พจนานุกรมไทย-ไทย ออนไลน์

จุดประสงค์ของเว็บ เพื่อสนับสนุนการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องตามความหมายของแต่ละคำ ขอบคุณข้อมูลจาก พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒